Human Development for Excellence Ep36

ค้าขายไม่ค้าความ

ตั้งแต่มีระบบการนับของโลกใบนี้ให้มีวันละ 24 ชั่วโมงจวบจนถึงปัจจุบัน โลกของเราก็ยังมีวันละ 24 ชั่วโมงเท่าเดิมแต่ที่เปลี่ยนแปลงไปคือปริมาณการค้าที่เพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันส่งผลต่อการเพิ่มประชากรของโลกและการบริโภคที่ตามมาที่นำไปสู่การขยายตัวของการค้าขายในประเทศและระหว่างประเทศซึ่งบ่อยหนที่การค้าขายที่ต้องมีผู้ซื้อและผู้ขายมักจะเกิดความขัดแย้ง และนำไปสู่ข้อพิพาทระหว่างกันจนกลายไปสู่การฟ้องร้องกันในศาล

ต้นทุนในการค้าขายทางตรงคือต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรที่เรานำมาใช้ในการคำนวณผลตอบแทนจากการทำธุรกิจ แต่ในปัจจุบันต้นทุนที่สำคัญกลับมีต้นทุนด้านเวลาและต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำธุรกิจและการบริหารเศรษฐกิจโดยภาพรวม หากเกิดการฟ้องร้องกันในศาลย่อมทำให้คู่กรณีจะต้องแบกรับต้นทุนจากการเสียเวลาและเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจและเศรษฐกิจในระยะยาว

การใช้การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ที่ประกอบไปด้วยการเจรจา (Negotiation) การประนอมข้อพิพาท (Mediation) และการอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ช่วยลดเวลาในการแก้ปัญหาข้อพิพาทโดยไม่ต้องฟ้องร้องกันในศาล ทำให้ลดต้นทุนในด้านเวลาและต้นทุนค่าเสียโอกาสอย่างมีนัยสำคัญ เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่มุ่งเน้นความพึงพอใจร่วมมากกว่าการชี้ถูกผิดโดยกฎหมาย (Rule of Lawyer) เพียงอย่างเดียว อันนำไปสู่การมุ่งเน้นการค้าขาย (Deal) มากกว่าค้าความ (Dispute) ประเทศไทยจึงควรส่งเสริมการระงับข้อพิพาททางเลือกให้กับนักธุรกิจทุกระดับเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศอย่างยั่งยืน

#สร้างคนสู่ความเป็นเลิศ โดย สุริยพงศ์ ทับทิมแท้

Visitors: 525,543